วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ปางช้างแม่สา


ปางช้างแม่สา

"ปางช้างแม่สา" เป็นบ้านหลังใหญ่ที่ช้างหลาย เชือกอยู่ร่วมกันกับควาญช้างด้วยสายใยแห่งความ รักและความกลมเกลียว ถือเป็นปางช้างที่มีจำนวน ช้างมากที่สุดในภาคเหนือด้วยสภาพแวดล้อมที่อยู่ ในอ้อมกอดของป่าเขาลำเนาไพรที่อุดมสมบูรณ์ใน เขตพื้นที่หุบเขาแม่สา
นอกเหนือจากปณิธานหลักในการจัดหาสภาพ แวดล้อมที่ดีและเป็นธรรมชาติที่สุดให้กับช้างแล้ว ปางช้างแม่สายังให้ความใส่ใจกับการอนุรักษ์และ สืบพันธุ์ช้างสืบเนื่องจากจำนวนช้างที่ลดลงเรื่อยๆ
การแสดงช้างของเราจะทำให้คุณประทับใจกับ ความสามารถและพรสวรรค์ของช้างไทยที่ได้รับ การฝึกมาอย่างดี ดังนั้นจึงเชื่อว่าคุณจะต้องรักช้าง และเข้าใจวิถีแห่งการเลี้ยงช้าง ร่วมมือกันสานต่อ อุดมการณ์แห่งการอนุรักษ์และสืบสานสายพันธุ์ช้าง ต่อไป

สถิติโลกกินเนสต์
ภาพวาดโดยศิลปินช้าง 8 เชือกของปางช้างแม่สาได้ดึงดูดความสนใจจาก ผู้คนทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ สถาบันกินเนสส์ ประเทศอังกฤษ ได้ยกย่องให้เป็น "ภาพวาดโดยกลุ่มศิลปินช้างที่มีราคาแพงที่สุดในโลก"

การดูแลสุขภาพช้าง
ปางช้างแม่สา ตระหนักดีว่าการดูแลที่ไม่ดีจะนำ ไปสู่การเจ็บป่วยทั้ง
ทางกายและใจของช้างได้ ปางช้างแม่สาจึงให้ความเอาใจใส่กับช้าง
เป็นพิเศษ โดยการจัดหาสิ่งที่ดีที่สุดและมีโภชนาการมาก เพื่อให้
ช้างทุกเชือกมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรง




ดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อ พ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่มอำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา" ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่) ดอยอ่างกา มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากยอดดอยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำแห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่าง ฝูงกาจำนวนมากมายมักพากันไปเล่นน้ำที่หนองน้ำแห่งนี้ จึงพากันเรียกว่า "อ่างกา" และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้นก็เลยเรียกกันว่า "ดอยอ่างกา" แต่ก็มีบางกระแสกล่าวว่า คำว่า "อ่างกา" นั้น
แท้จริงแล้วมาจากภาษาปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) แปลว่า "ใหญ่" เพราะฉะนั้นคำว่า "ดอยอ่างกา" จึงแปลว่าดอยที่มีความใหญ่นั่นเอง ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูลบางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์" อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มีพื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6 ดังนี้ "เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดมีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยประกาศพระราชกฤษฎีกาด้วยบริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า อุทยานแห่งชาติ"



แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสุเทพวรมหาวิหาร


วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร  เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน